top of page
Search

ฝีที่แก้มของชูการ์ไกลเดอร์: ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

  • Writer: Monthinee Jongjesdakul
    Monthinee Jongjesdakul
  • 14 minutes ago
  • 1 min read

ชูการ์ไกลเดอร์มีอาการบวมที่แก้มจากฝีและการติดเชื้อแบคทีเรีย
ชูการ์ไกลเดอร์มีอาการบวมที่แก้มจากฝีและการติดเชื้อแบคทีเรีย

ฝีบริเวณแก้มของน้องชูการ์ไกลเดอร์เป็นปัญหาสุขภาพที่เจอบ่อยกว่าที่คิด และถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ก็อาจทำให้เจ้าเพื่อนตัวจิ๋วของเราป่วยหนักได้เลยนะ


สาเหตุของการเกิดฝีที่แก้มในชูการ์ไกลเดอร์


ฝีที่แก้มของชูการ์ไกลเดอร์มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถเข้าร่างกายได้จากแผลเล็กๆ หรือการอักเสบในช่องปาก โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้:


  • ฟันผุ


เกิดขึ้นจากการสะสมของหินปูนซึ่งสามารถพบได้ในชูก้าไกลเดอร์ที่กินอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่นผลไม้กระป๋อง โดยหินปูนจะทำให้เกิดปัญหาที่เหงือกเเละฟันผุได้ หากฟันและเหงือกนั้นติดเชื้อ อาจจะทำให้เกิดฝีหนองในช่องปากทำให้หน้าบวมจากการอักเสบได้


  • ฝีที่รากฟัน


การติดเชื้อจากรากฟันที่ลุกลามมาจนเกิดเป็นฝีบริเวณแก้ม อาจทำให้หน้าบวมจนเห็นได้ชัด อาจพบฟันโยกในแถวฟันบนด้านที่มีปัญหา และอาจพบหนองสีขาวหรือสีแทนรอบๆ ฟันกรามน้อยซี่ใดซี่หนึ่ง ในหลายกรณี บริเวณบวมจะมีจุดนิ่ม ซึ่งบ่งชี้ว่ามีหนองสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง


  • การบาดเจ็บจากการถูกกัดหรือถูกของมีคมบาด


บางครั้งชูการ์ไกลเดอร์อาจกัดกันเอง หรือถูกของมีคมในกรงอย่างลวดหรือไม้ บาดที่บริเวณผิวหนัง ทำให้เกิดแผลและติดเชื้อได้


  • โรค Lumpy Jaw


เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย Actinomyces israelii เข้าสู่ร่างกายบริเวณใบหน้าและลำคอ ทำให้เกิดก้อนแข็งโตขึ้นอย่างช้าๆ แบคทีเรียชนิดนี้ยังสามารถลุกลามไปยังปอด ระบบทางเดินอาหาร และส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ได้แก่ มีน้ำตาไหล และน้ำหนักลด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจอันตรายถึงชีวิตได้


อาการที่ควรเฝ้าระวัง


  • แก้มหรือใบหน้าบวมตุ่ยๆ โดยเฉพาะตรงใกล้ตาหรือใต้ตา


  • ตาดูแฉะหรือลืมไม่ขึ้นข้างหนึ่ง อาจเป็นเพราะการบวมไปกดทับ


  • มีหนองหรือของเหลวไหลออกจากจมูกหรือปาก เป็นสัญญาณของการติดเชื้อขั้นรุนแรง


  • ไม่ค่อยกินอาหารหรือดูซึมๆ หากน้องเริ่มไม่กระตือรือร้นเหมือนเคย ควรรีบพาไปพบคุณหมอ


การป้องกันและการดูแลรักษา


  • พาไปตรวจสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ คุณหมอที่มีประสบการณ์กับสัตว์ชนิดนี้จะช่วยดูแลฟันและสุขภาพช่องปากของน้องได้ดีที่สุด


  • เช็กกรงให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงวัสดุมีคมที่อาจทำให้ชูการ์ไกลเดอร์บาดเจ็บ เช่น ลวดกรง หรือของแข็งที่แทะแล้วบาดปาก


  • แยกตัวที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่มที่ชอบกัดหรือเล่นแรง ควรแยกไว้เพื่อความปลอดภัย


  • ให้อาหารที่มีคุณค่าสมดุล การดูแลเรื่องโภชนาการก็ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและลดโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ด้วย


การดูแลน้องชูการ์ไกลเดอร์ให้แข็งแรงไม่ใช่เรื่องยาก แค่ใส่ใจสังเกตอาการเป็นประจำ และไม่ลังเลที่จะพาไปหาหมอเมื่อสงสัย ก็ช่วยให้น้องมีชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุขไปกับเรานานๆ 🐾



แหล่งข้อมูลอ้างอิง:










 
 
 

Comments


bottom of page