top of page

⚠️เช็คด่วน✅ความเสี่ยงการเกิด "โรคหัวใจ"❤️



1. พันธุกรรม และสายพันธุ์🐶🐱


น้องหมาและน้องแมวบางสายพันธุ์มีแนวโน้มจะเป็นโรคหัวใจมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากพันธุกรรมที่ส่งต่อกันในครอบครัวสายพันธุ์นั้น ๆ


🦮 น้องหมา : โรคหัวใจลิ้นไมตรัลรั่ว (Myxomatous Mitral Valve Disease - MMVD) พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์กลาง เช่น ชิวาวา (Chihuahua), คาวาเลียร์ คิง ชาร์ลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) ซึ่งพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญมาก


🐈 น้องแมว : โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (Hypertrophic Cardiomyopathy - HCM) พบได้บ่อยในแมวพันธุ์ เมนคูน (Maine Coon), แร็กดอลล์ (Ragdoll) โดยเฉพาะแมวที่มีการกลายพันธุ์ของยีน MYBPC3


2. อายุ⏳


☝🏻เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจก็สูงขึ้นตามไปด้วยหัวใจเสื่อมสภาพ อาจเกิดภาวะลิ้นหัวใจเสื่อม (valvular degeneration) หรือหัวใจโต (cardiomegaly)


🩸ระบบหมุนเวียนเสื่อม : ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง ทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดีเท่าเดิม


3. น้ำหนักเกิน (โรคอ้วน)⚠️


“อ้วน” = หัวใจทำงาน หนักขึ้น


✨การมีไขมันสะสมมากทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อ ความดันโลหิตสูง, หัวใจโต, และภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure)


📣นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อโรคร่วมอื่น เช่น เบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อหัวใจโดยตรง!


4. โรคประจำตัวอื่น ๆ🧬


โรคบางอย่างสามารถทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นหรือนำไปสู่โรคหัวใจได้ เช่น


เบาหวาน (Diabetes Mellitus)

ส่งผลต่อหลอดเลือดและระบบเมตาบอลิซึมของหัวใจ


โรคไต (Chronic Kidney Disease)

ทำให้ร่างกายควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ได้ไม่ดี เพิ่มความดันโลหิต


ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ทำให้ผนังหัวใจหนาขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจล้มเหลว


5. การขาดสารอาหารบางชนิด🍽️


ทอรีน (Taurine)

สารสำคัญที่ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดทอรีนจะนำไปสู่ภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Dilated Cardiomyopathy - DCM) พบได้บ่อยในน้องแมวและ น้องหมาบางพันธุ์


แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine)

การขาดสารนี้อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในสุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ (Boxer)





 
 
 

Comentários


bottom of page